หน้าแรก    |    ประวัติความเป็นมา    |    อัลบั๊มภาพ    |    หลักสูตรธรรมศึกษา    |    ภาพกิจกรรม    |    ตารางปฎิบัติธรรม    |    ข้อมูลติดต่อ
 



ประวัติความเป็นมาของนักธรรมและธรรมศึกษา


ความเป็นมา
การศึกษาพระปริยัติธรรม หรือที่เรียกกันว่า นักธรรม” เกิดขึ้นตามพระดำริของสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส เป็นการศึกษาพระธรรมวินัยในภาษาไทย* เพื่อให้ภิกษุสามเณรผู้เป็นกำลังสำคัญของพระพุทธศาสนาสามารถศึกษาพระธรรมวินัยได้สะดวกและทั่วถึง อันจะเป็นพื้นฐานนำไปสู่สัมมาปฏิบัติตลอดจนเผยแผ่พระพุทธศาสนาให้กว้างออกไป

ต่อมาพระเจ้าวรวงศ์เธอกรมหลวงชินวรสิริรัตน์ สมเด็จพระสัฆราชเจ้า ทรงพิจารณาเห็นว่า การศึกษานักธรรมมิได้เป็นประโยชน์ต่อภิกษุสามเณรเท่านั้นแม้ผู้ที่ยังครองฆราวาสวิสัยก็จะได้รับประโยชน์จากการศึกษานักธรรมด้วย โดยเฉพาะสำหรับเหล่าข้าราชการครู จึงทรงตั้งหลักสูตรนักธรรมสำหรับฆราวาสขึ้น เรียกว่า ธรรมศึกษา” มีครบทั้ง ๓ ชั้น คือ ชั้นตรี ชั้นโท ชั้นเอก ซึ่งมีเนื้อหาเช่นเดียวกันกับหลักสูตรนักธรรมของภิกษุสามเณร เว้นแต่วินัยบัญญัติที่ทรงกำหนดใช้เบญจศีลเบญจธรรมและอุโบสถศีลแทน หลักสูตรธรรมศึกษาได้เปิดสอนและสอนครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๒ และ เปิดสอนครบทุกชั้นในเวลาต่อมา มีฆราวาสทั้งหญิงและชายเข้าสอบเป็นจำนวนมากนับเป็นการส่งเสริมการศึกษาพระพุทธศาสนาให้กว้างขวางยิ่งขึ้น

ปี พ.ศ. ๒๕๔๖ สนามหลวงแผนกธรรมได้ปรับเนื้อหาหลักสูตรธรรมศึกษาให้น้อยลง ทั้งนี้เพื่อให้เหมาะสมกับสภาพเหตุการณ์ในปัจจุบัน เพราะผู้เรียนส่วนใหญ่เป็นนักเรียนนักศึกษาซึ่งมีหลักสูตรที่ต้องเรียนต้องศึกษาในสถาบันการศึกษาอยู่แล้วเป็นปกติ การเรียนธรรมศึกษาที่มีเนื้อหาวิชามากเกินไปอาจเป็นภาระที่หนักสำหรับผู้เรียน

-------------------------------------------------------------
* การศึกษาพระปริยัติธรรมของพระสงฆ์ไทยแต่ดบราณนิยมศึกษาเป็นภาษาบาลี
วัตถุประสงค์ของการเรียนธรรมศึกษา
  • เพื่อให้ผู้เรียนเกิดศรัทธาและสำนึกในความสำคัญของพระพุทธศาสนา
  • เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ ความเข้าใจ และซาบซึ้งในคุณของพระรัตนตรัย
  • เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาและหลักธรรมอย่างถูกต้อง
  • เพื่อให้ผู้เรียนมีทักษะในการคิดและการปฏิบัติตนอย่างถูกต้องตามหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา
  • เพื่อให้ผู้เรียนรู้หน้าที่ของชาวพุทธและสามารถปฏิบัติได้อย่างเหมาะสม

หลักสูตรธรรมศึกษาที่ใช้ในปัจจุบัน มีขอบข่ายการเรียนการสอนดังนี้

วิชาเรียงความแก้กระทู้ธรรม
หลักสูตร ใช้หนังสือพุทธศาสนสุภาษิต เล่ม ๒ มี ๕ หมวด คือ ๑) อัตตวรรค ๒) กัมมวรรค ๓) ขันติวรรค ๔) ปัญญาวรรค ๕) เสวนาวรรค

วิชาธรรมวิภาค
หลักสูตร ใช้หนังสือธรรมวิภาค ปริเฉทที่ ๒ ชั้นนี้กำหนดให้เรียนหมวดธรรม ตามการปรับปรุง
หลักสูตรธรรมศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๖
มีหมวดธรรม ดังนี้

ทุกะ หมวด ๒
- กัมมัฏฐาน ๒
- กาม ๒
- บูชา ๒
- ปฏิสันถาร ๒
- สุข
ติกะ หมวด ๓
- อกุศลวิตก ๓
- กุศลวิตก ๓
- อัคคิ ๓
- อธิปเตยยะ ๓
- ญาณ ๓
- ตัณหา ๓
- ปาฏิหาริยะ ๓
- ปิฎก ๓
- พุทธจริยา ๓
- วัฏฏะ ๓
- สิกขา ๓
จตุกกะ หมวด ๔
- อปัสเสนธรรม ๔
- อัปปมัญญา ๔
- พระอริยบุคคล ๔
- โอฆะ ๔
- กิจในอริยสัจ ๔
- บริษัท ๔
- บุคคล ๔
- มรรค ๔
- ผล ๔
ปัญจกะ หมวด ๕
- อนุปุพพิกถา ๕
- มัจฉริยะ ๕
- มาร ๕
- เวทนา ๕
ฉันกะ หมวด ๖
- จริต ๖ - ธรรมคุณ ๖
สัตตกะ หมวด ๗
- วิสุทธิ ๗
สัตตกะ หมวด ๗
- วิสุทธิ ๗
อัฏฐกะ หมวด ๘
- อวิชชา ๘
นวกะ หมวด ๙

- พุทธคุณ ๙ - สังฆคุณ ๙
ทสกะ หมวด ๑๐
- บุญญกิริยาวัตถุ ๑๐
ทวาทสกะ หมวด ๑๒
- กรรม ๑๒


วิชาอนุพุทธประวัติ
หลักสูตรใช้หนังสืออนุพุทธประวัติ พระนิพนธ์ สมเด็จพระสังฆราช (สา ปุสฺสเทวมหาเถร)
และศาสนพิธีเล่ม ๒ ขององค์การศึกษา ชั้นนี้กำหนดให้เรียนประวัติของพระสาวกจำนวน ๔๐ รูป ตาม
การปรับปรุงหลักสูตรธรรมศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๖ ดังนี้

๑. พระอัญญาโกณฑัญญเถระ
๒. พระอุรุเวลกัสสปเถระ
๓. พระสารีบุตรเถระ
๔. พระมหาโมคคัลลานเถระ
๕. พระมหากัสสปเถระ
๖. พระมหากัจจายนเถระ
๗. พระโมฆราชเถระ
๘. พระราธเถระ
๙. พระปุณณมันตานีบุตรเถระ
๑๐. พระกาฬุทายีเถร
๑๑. พระนันทเถระ
๑๒. พระราหุลเถระ
๑๓. พระอุบาลีเถระ
๑๔. พระภัททิยเถระ
๑๕. พระอนุรุทธเถระ
๑๖. พระอานนทเถระ
๑๗. พระโสณโกฬิวิสเถระ
๑๘. พระรัฐบาลเถระ
๑๙. พระปิณโฑลภาระทวาชเถระ
๒๐. พระมหาปันถกเถระ
๒๑. พระจูฬปันถกเถระ
๒๒. พระโสณกุฏิกัณณเถระ
๒๓. พระลกุณฏกภัททิยเถระ
๒๔. พระสุภูติเถระ
๒๕. พระกังขาเรวตเถระ
๒๖. พระโกณฑธานเถระ
๒๗. พระวังคีสเถระ
๒๘. พระปิลินทวัจฉเถระ
๒๙. พระกุมารกัสสปเถระ
๓๐. พระมหาโกฏฐิตเถระ
๓๑. พระโสภิตเถระ
๓๒. พระนันกเถระ
๓๓. พระมหากัปปินเถระ
๓๔. พระสาคตเถระ
๓๕. พระอุปเสนเถระ
๓๖. พระขทิรวนยเรวตเถระ
๓๗. พระสีวลีเถร
๓๘. พระวักกลิเถระ
๓๙. พระพาหยทารุจีริยเถระ
๔๐. พระพากุลเถระ ะ

วิชาวินัย (อโบสถศีล)
หลักสูตร ใช้หนังสืออุโบสถศีลของพระศรีรัตนโมลี (ชัยวัฒน์  ปญฺญาสิริ)

วิธีตรวจในสนามหลวง
การตรวจประโยคธรรมสนามหลวงและธรรมศึกของสนามหลวงความประสงค์เพื่อทราบความรู้ของนักเรียนตามความเป็นจริง เป็นทางให้ผู้ศึกษาเจริญในวิทยาคุณและจริยสมบัติ สืบอายุพระพุทธศาสนนิกชนที่ดีต่อไป

ข้อสอบของธรรมศึกษาทุกชั้น เว้นเรียงความแก้กระทู้ธรรม ปัญหาที่ออกสอบเป็นแบบปรนัย คือ เลือกคำตอบที่บอกมาแล้วในแต่ละข้อ แต่ต้องเป็นคำตอบที่ถูกต้องที่สุด ในแต่ละข้อซึ่งมีที่ถูกที่สุดเพียงข้อละคำตอบเดียว นักเรียนจะต้องเลือตอบข้อที่ถูกเท่านั้น เลือกตอบผิดเป็นไม่ได้คะแนน เป็นการถามทั้งความรู้ ความเข้าใจ ความจำ และความคิดไปในตัวด้วย

เฉพาะใบคำตอบของธรรมศึกษาทุกชั้น เว้นแต่กระทู้ ข้อสอบปต่ละวิชามี ๕๐ ข้อ ๆละ ๒ คะแนน ให้ตรวจไปตามใบเฉลยฉบับที่เฉลยไว้ให้ ตรวจแต่ละฉบับ แล้วให้นับข้อรวม
ในกรณีที่นักเรียนธรรมศึกษากากบาทลงในช่องคำตอบในข้อเดียวกันหลายคำตอบ ถือว่าข้อนั้น ๆ เป็นผิดไม่ได้คะแนน หากมีรอยขูด ลบ ขีด ฆ่าไว้แต่พอเป็นหลักฐานให้ทราบว่านักเรียนตกลงใจตอบในข้อไหนได้ ก็ให้ตรวจไปตามนั้น

เกณฑ์การตัดสินสอบได้ – สอบตก
การให้คะแนนธรรมศึกษาทุกชั้น มีหลักเกณฑ์ดังนี้

๑.๑. ธรรมศึกษาทุกชั้นให้ถือ ๔๐๐ คะแนนเป็นเกณฑ์ วิชาทุกวิชาคะแนนเต็ม ๑๐๐ คะแนนเมื่อรวมคะแนนของทั้ง ๔ วิชาแล้ว ต้องได้คะแนนไม่ต่ำกว่า ๒๐๐ คะแนน ถือว่าสอบได้ ต่ำกว่า ๒๐๐คะแนน ถือว่าสอบตก

๑.๒. ธรรมศึกษาทุกชั้น เมื่อตรวจดูคะแนนของแต่ละวิชาที่ได้แล้วหากมีวิชาใดวิชาหนึ่งได้
คะแนนต่ำกว่า ๒๕ คะแนน แม้จะรวมครบทุกวิชาแล้วได้เกินกว่าที่กำหนดก็ตาม ให้ถือว่าการสอบครั้งนี้เป็นการสอบตกด้วย

๑.๓.  ธรรมศึกษาทุกชั้น ต้องสอบทั้ง ๔ วิชา ถ้าขาดสอบวิชาใดวิชาหนึ่ง สนามหลวงแผนกธรรมไม่รับพิจารณา ให้อยู่ในเกณฑ์สอบตก

๑.๔. วิชาที่ตอบต้องได้คะแนนทุกวิชา จึงจะยอมรับรวมคะแนนได้ หากเกิดวิชาใดวิชาหนึ่งไม่ได้คะแนนแม้แต่คะแนนเดียว หรือได้ต่ำกว่า ๒๕ คะแนนก็ห้ามรวมคะแนน ปรับเป็นตก แม้รวมทุกวิชาแล้ว จะได้คะแนนสูงสุดถึงเกณฑ์ที่กำหนดไว้ก็ตาม

วิธีการศึกษา
  • ศึกษาเนื้อหาไปตามลำดับ และทำแบบทดสอบในแต่ละตอน เสร็จแล้วตรวจตำตอบจากเฉลยท้ายบทเรียน
  • ฟังการบรรยาย-สอบถาม พระอาจารย์หรือท่านผู้รู้
  • ค้นคว้าเพิ่มเติมจากหนังสืออื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
  • การประเมินผล
  • ทำแบบทดสอบก่อนและหลังเรียน
  • เข้าฟังบรรยายในชั้นเรียน (กรณีที่มีการเรียนการสอน)
  • สังเกตจากพฤติกรรม ตลอดถึงทัศนคติของผู้เรียน
  • เข้าสอบธรรมสนามหลวง
  • ผุ้เรียนนำหลักธรรมคำสอนไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน
  •  






     

     
     
     
     
    สงวนลิขสิทธิ์ 2552 ติดต่อผู้ดูแลเวบไซด์